Thursday, July 4, 2019
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เด็ก ๆ คงจะดีใจเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองพาไปเที่ยวพักผ่อนในวันหยุดเรียนหรือเมื่อทางโรงเรียนพาไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การได้ไปท่องเที่ยวเป็นครั้งคราวทำให้จิตใจแจ่มใสเบิกบานพ้นจากความจำเจในชีวิตประจำวัน ทั้งยังได้รับความรู้และความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการได้เห็น บาคาร่า สิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ และการได้ร่วมเดินทางไปกับครอบครัวหรือกับเพื่อน ๆ ในประเทศของเรามีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากให้เราเลือกไปได้ตามใจชอบ บางคนชอบไปพักผ่อนตากอากาศชายทะเลได้เดินเล่นบนหาดทราย ว่ายน้ำ และดำน้ำ ชมทัศนียภาพที่งดงามของชายฝั่งทะเลและเกาะต่าง ๆ บางคนก็ชอบไปท่องเที่ยวบนภูเขา ดูถ้ำและน้ำตก เดินป่าชมสัตว์ป่า นก และพรรณไม้นานาชนิด ส่วนคนที่ชอบทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมก็เลือกไปชมโบราณสถาน พระราชวังโบราณ วัดวาอาราม อนุสาวรีย์ พิพิธภัณฑสถาน ตลอดจนได้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของคนในแต่ละท้องถิ่น
การท่องเที่ยว เพื่อศึกษาเรียนรู้สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นต่าง ๆ เราเรียกว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คำว่า นิเวศ แปลว่า บ้านหรือที่อยู่อาศัย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศจึงเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นในด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต คือ พืช สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งเป็นวิธีการท่องเที่ยวที่จะทำให้เราเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกตกทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งและเราควรจะต้องรักษามรดกนั้นไว้ให้คงอยู่ต่อไปนาน ๆ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเดินป่า การขี่รถจักรยานลัดเลาะไปตามไร่นาและชนบท การดูถ้ำ น้ำตก พุน้ำร้อน การไต่เขาและปีนหน้าผา การนั่งเรือหรือล่องแพไปตามลำน้ำ การพายเรือล่องแก่ง การดำน้ำดูปะการัง และปลาสวยงามใต้ทะเล การเยี่ยมชมสวนผลไม้ การดูวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น การพักแรมกับชุมชนในหมู่บ้าน วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เรามีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริงได้เรียนรู้และเห็นคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ และพร้อมที่จะเป็นนักท่องเที่ยวที่ดี การเป็นนักท่องเที่ยวที่ดี คือ จะต้องช่วยกันระมัดระวังมิให้แหล่งท่องเที่ยวเกิดความเสื่อมโทรมโดยการไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาดไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่เด็ดหรือเหยียบย่ำพืชพรรณไม้ ไม่ขีดเขียนข้อความตามผนังถ้ำหรือโขดหิน ไม่ทำลายหินงอกหินย้อยในถ้ำและปะการังใต้ทะเล และให้ความเป็นมิตรไมตรีกับคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ร่วมกันกับเรา
ปัจจุบันการท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมบริการที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งประเทศไทยด้วยและได้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งวิธีการจัดการการท่องเที่ยว ให้ขยายตัวมากขึ้นตามลำดับถึงแม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะให้ผลดีทางด้านเศรษฐกิจ แต่ก็ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบได้มากหากไม่ระมัดระวังผลกระทบในทางลบที่สำคัญมากมี ๒ ประการคือ ประการแรกก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวและประการที่ ๒ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชุมชนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่
ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น นักท่องเที่ยวไม่ช่วยกันระมัดระวังรักษาสิ่งแวดล้อม มีการทิ้งขยะเกลื่อนกลาดไม่เป็นที่เป็นทาง เด็ดหรือทำลายพืชพรรณไม้ ขีดเขียนตามผนังถ้ำหรือโขดหินให้เกิดความสกปรก ทำลายปะการังใต้น้ำ โรงแรมปล่อยน้ำเสียลงในแหล่งน้ำ รวมทั้งมีการปลูกสร้างอาคารที่ไม่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม สกปรกรกรุงรังหรือรุกล้ำที่สาธารณะ
ความเดือดร้อนที่ชุมชนในท้องถิ่น อาจได้รับจากการท่องเที่ยว ได้แก่ ความไม่สะดวกต่าง ๆ อันเนื่องมาจากนักท่องเที่ยวเดินทางมาเป็นจำนวนมาก เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาเสียงรบกวน และปัญหาค่าครองชีพในท้องถิ่นสูงขึ้น ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีผลกระทบในทางลบน้อยที่สุดโดยให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและช่วยกันอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวให้คงสภาพที่ดีต่อไปนาน ๆ ในขณะเดียวกันก็ให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวร่วมกับหน่วยงานทั้งของรัฐและของเอกชน เพื่อจะได้ดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนอย่างเต็มที่พร้อมทั้งได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ด้วยแนวคิดนี้เป็นที่มาของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งได้เริ่มแพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นต้นมา และองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒) เป็นปีสากลแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วย
หลักการสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมี ๒ ประการ คือ ประการแรกต้องเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและประการที่ ๒ ต้องเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมายถึง การท่องเที่ยวที่มีผลต่อเนื่องไปในระยะเวลายาวนานมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ จะต้องดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยวให้ใช้ประโยชน์ได้ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน มิใช่เพียงเพื่อคนในรุ่นปัจจุบันเท่านั้นและต้องให้มีการร่วมมือกันทุกระดับทั้งในระดับประเทศ ระดับภาค และระดับท้องถิ่น ในการวางแผนการพัฒนาและการจัดการการท่องเที่ยวร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องให้ชุมชนในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนอย่างเป็นธรรมด้วย
ส่วนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมายถึง การท่องเที่ยวที่มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปโดยการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและตระหนักในคุณค่าของมรดกทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น
จากหลักการสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ๒ ประการดังกล่าว เชื่อว่าเป็นแนวทางที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เจริญเติบโตต่อไปได้ในอนาคตโดยลดผลกระทบในทางลบให้เหลือน้อยลง ปัจจุบันได้มีรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศปรากฏให้เห็นแล้วในหลายพื้นที่ของประเทศไทยและคงจะขยายตัวมากยิ่งขึ้นในระยะเวลาต่อไป
ขอบคุณแหล่งที่มา www.trueplookpanya.com
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment