เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเอราวัณ ลพบุรี
บริเวณเขาเอราวัณมีสำนักสงฆ์ ถ้ำเอราวัณ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้กับถ้ำโปร่ง และด้านหลังของสำนักสงฆ์ถ้ำเอราวัณ จะเป็นถ้ำเอราวัณภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ข้างใน ส่วนทางด้านชมรมรักษ์เขาเอราวัณจึงได้ใช้ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นข้อมูลเรียกร้อง ให้หน่วยงานราชการที่มีอำนาจเกี่ยวข้องในการอนุมัติให้สัมปทานภูเขาเอราวัณได้พิจารณาว่า ไม่สมควรอนุมัติให้สัมปทานทำเหมืองหิน รวมทั้งได้จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชั่วคราวขึ้นที่ สำนักสงฆ์ถ้ำเอราวัณ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอันทรงคุณค่าภูเขาเอราวัณให้เป็นที่ทราบทั่วกัน ในที่สุดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศให้ภูเขาเอราวัณเป็นพื้นที่อนุรักษ์ประเภท "เขตห้ามล่าสัตว์ป่า" และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ซึ่งหมายถึงว่าภูเขาเอราวัณได้รับการคุ้มครองให้เป็นสมบัติทางธรรมชาติของประเทศ ปลายปีพ.ศ.2551 ชมรมอนุรักษ์เขาเอราวัณได้พัฒนาแหล่งเรียนรู้ชั่วคราวเขาเอราวัณให้เป็นแหล่งเรียนรู้ถาวร ด้วยการขอใช้พื้นที่ชั้นล่างของหอสวดมนต์สำนักสงฆ์ถ้ำเอราวัณเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร โดยใช้งบประมาณจากภาคประชาชนมีชื่อว่า "แหล่งเรียนรู้สหวิทยาการเขาเอราวัณ"1. ถ้ำ ในพื้นที่ภูเขาเอราวัณมีถ้ำอยู่มากกว่า 15 ถ้ำ มีการสำรวจถ้ำหลักจำนวน 5 ถ้ำได้แก่ ถ้ำเทวาพิทักษ์ ถ้ำโปร่ง ถ้ำเอราวัณ ถ้ำอริยะสัจ 4 และถ้ำที่ยังไม่มีชื่ออีก 1 ถ้ำ ภายในถ้ำมีความสวยงามตามธรรมชาติ มีหินงอก หินย้อย ม่านหินย้อย หลอดหินย้อย หินผุด หินน้ำไหล เสาหิน หินปูนฉาบ ฯลฯ จากการสำรวจถ้ำพบว่า “ถ้ำเทวาพิทักษ์” เป็นถ้ำมีขนาดใหญ่ที่สุด และความยาวของถ้ำประมาณ 200 เมตร 2. ฟอสซิสดึกดำบรรพ์ พบซากฟอสซิลหอยนอติลุส(หอยวงช้าง) คชข้าวสาร ปะการัง พลับพลึงทะเล และหอยกาบเดียวอีกหลายชนิด 3. ภาชนะดินเผา บางถ้ำพบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายอายุกว่า 2,000 ปี เช่น ภาชนะทรงพานหรือภาชนะฐานสูง เศษภาชนะดินเผาลวดลายต่างๆ และท่อหล่อ 4. สัตว์ป่า มีการสำรวจพบมี “นกจู๋เต้นเขาปูน” ซึ่งเป็นนกเฉพาะถิ่นซึ่งนับเป็นแหล่งที่ 2 ของโลกเพราะอาศัยอยู่เฉพาะในเขาหินปูน นอกจากนั้นยังพบ ค้างคาวมงกุฎเทาแดง ตุ๊กแกป่า ลิงกัง อีเห็น เม่น เต่าเหลือง ไก่ป่า และสัตว์ป่าหายากอีกหลายชนิด 5. พันธุ์พืชเฉพาะถิ่นหายาก คือ ”โมกราชินี” (Wrightia sirikitiae) ซึ่งเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกค้นพบเมื่อปี 2544 บริเวณภูเขาหินปูนแถบจังหวัดสระบุรี ลพบุรี และปราจีนบุรี ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นอกจากนี้ยังมีโมกเหลือง โกงกางน้ำจืด ขนุนดิน มะยมเงินมะยมทอง มะกา ขี้เหล็กฤาษี จันทน์ผา ปออีเก้ง ไทร ฯลฯ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา thai.tourismthailand.org
No comments:
Post a Comment