CASINO ONLINE

CASINO ONLINE
CASINO ONLINE

Saturday, June 8, 2019

สถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา ราชธานีเก่าน่าเที่ยว เมืองแห่งมรดกโลก



ท่องเที่ยวอยุธยา ราชธานีเก่าน่าเที่ยว เมืองแห่งมรดกโลก

รวมสถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา ราชธานีเก่าของไทย เมืองมรดกโลก มากมายด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและทรงคุณค่า เที่ยวได้สบาย ๆ ในวันเดียว
         อยุธยา ราชธานีกรุงเก่าเมื่อครั้งอดีตของไทย ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากว่า 417 ปี แม้ว่าจะถูกทำลายจากภัยสงคราม แต่ก็ยังคงเหลือโบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญต่าง ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของยุคสมัย จนในปี 2534 องค์กรยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาให้เป็นเมืองมรดกโลก และนั่นยิ่งทำให้อยุธยากลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลางทางท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจทั้งจากนักท่องเที่ยวชายไทยและต่างชาติ

         และช่วงนี้ดูเหมือนว่ากระแสการเที่ยวอยุธยากำลังกลับมาอินเทรนด์อีกครั้ง อาจเป็นเพราะด้วยกระแส วิเคราะห์บอล  ของละคร "บุพเพสันนิวาส" ทำให้มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนไม่น้อย อยากจะลองเที่ยวตามรอยละครดูบ้าง ซึ่งจริง ๆ แล้ว นอกเหนือจากโบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญแล้ว อยุธยายังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ทั้งตลาดน้ำ พิพิธภัณฑ์ และที่เที่ยวเชิงธรรมชาติสวย ๆ เหมาะสำหรับเป็นโปรแกรมเที่ยววันหยุดอีกเพียบ วันนี้เราจึงรวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวอยุธยามาฝาก บอกเลยว่าเที่ยวได้แบบไม่มีเบื่อ

1. วัดพนัญเชิงวรวิหาร
 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสัก วัดเก่าแก่และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในอยุธยา เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อโต" หรือ "เจ้าพ่อซำปอกง" อันเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีความน่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น "พระพุทธรูปทองคำในพระอุโบสถ" ซึ่งมีพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปูน และพระพุทธรูปนาค และ "ตำหนักเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก" ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก อนุสรณ์ความรักอันน่าเศร้าของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง กษัตริย์ของไทย และพระนางสร้อยดอกหมาก จากแผ่นดินจีน

2. วัดพุทไธศวรรย์
ตั้งอยู่ในเขตตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา หนึ่งในวัดที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ภายในเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อดำ" พระประธานในประอุโบสถ งดงามด้วยศิลปะแบบอู่ทอง เป็นที่เล่าขานในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ในการดลบันดาลให้หายจากการเจ็บป่วย หรือใครที่อยากมีบุตรก็สามารถขอได้สมความปรารถนา นอกจากนี้ยังมี "องค์ปรางค์ประธาน" ภายในประดิษฐานพระเจดีย์องค์เล็ก ๆ และรอยพระพุทธบาท ให้กราบสักการะ, "ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" เชื่อกันว่าเป็นที่ประทับของพระพุทธโฆษาจารย์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระเพทราชา รวมถึงยังมี "วิหารองค์พ่อจตุคามรามเทพ" ที่มีผู้คนเดินทางมากราบไหว้บูชาอย่างต่อเนื่อง

3. วัดไชยวัฒนาราม
  ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2173 เดิมพื้นที่วัดไชยวัฒนาราม เป็นที่อยู่ที่สุดท้ายก่อนสิ้นพระชนม์ของพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในช่วงที่ยังไม่เสวยราชสมบัติ เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์แล้ว จึงได้โปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนารามนี้ขึ้นเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่พระราชมารดา สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ "พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ" เป็นปรางค์ประธานของวัด, "พระระเบียง" ภายในพระระเบียงมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย และ "พระอุโบสถ" ภายในมีซากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทราย เป็นต้น

4. วัดพระศรีสรรเพชญ์
ตั้งอยู่บนถนนศรีสรรเพชญ์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา เดิมบริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แต่ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ย้ายพระราชวังไปทางเหนือ และอุทิศที่ดินเดิมนี้เพื่อสร้างวัดภายในพระราชวัง เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ แต่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา งดงามด้วยศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมทรงคุณค่า อย่าง "เจดีย์" สำคัญทั้ง 3 องค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 และพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และยังมีวิหาร, หอระฆัง และพระอุโบสถ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความเก่าแก่และสวยงามอย่างยิ่ง

5. วัดนิเวศธรรมประวัติ
   ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน เป็นวัดเพียงแห่งเดียวในไทย ที่ภายในเป็นวัดพุทธ แต่สถาปัตยกรรมเป็นแบบคริสต์ จุดเด่นของวัดแห่งนี้อยู่ที่ความงดงามของพระอุโบสถแบบโกธิค ประดับด้วยกระสีต่าง ๆ สวยงาม ภายในประดิษฐาน "พระพุทธนฤมลธรรโมภาส" และพระสาวก นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังเที่ยวชมพระตำหนักฯ สมเด็จพกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สุสานสวนหินดิศกุลอนุสรณ์ และนั่งกระเช้าข้ามแม่น้ำเพื่อเข้าวัด ซึ่งเป็นวิธีการสัญจรเดียว เนื่องจากวัดนิเวศธรรมประวัติตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำนั่นเอง

No comments:

Post a Comment